คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานทั่วไป ถ้าไม่มีคุณธรรม จริยธรรมแล้ว มันก้อไม่ต่างอะไรกับสัตว์ดีๆนี่เอง

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา


คุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา


คุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษา

       การศึกษานับเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้หรือพัฒนามนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย เพราะการที่มนุษย์จะดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น ก็ด้วยการศึกษาเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ก็คือประวัติศาสตร์แห่งการศึกษานั่นเอง กล่าวเฉพาะในสังคมไทย การศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทยแสดงออกมาในหลาย ๆ ลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาโดยตรง หรือแสดงออกมาโดยอ้อมผ่านความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมและการดำเนินชีวิตอื่น ๆ ดังจะเห็นได้จากการใช้คำศัพท์ในภาษาไทยหลายคำที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น คำว่า เรียน เรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนา ศึกษา ฝึกฝน อบรม นักเรียน นิสิต นักศึกษา บัณฑิต ปราชญ์เป็นต้น คำเหล่านี้แม้จะแตกต่างกันไปตามระดับขั้นของการใช้และแหล่งที่มาของคำศัพท์ แต่ก็บ่งบอกถึงนัยแห่งการศึกษาและการเรียนรู้นั่นเอง

จริยธรรม


จริยธรรม (Ethics)


คำว่า "จริยธรรม" แยกออกเป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนา, หลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น "จริยธรรม" จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า "หลักแห่งความประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ"

จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว

ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้

คุณธรรม


คุณธรรม (Moral )


คุณธรรม คือ คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ

สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี

คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินในการประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี